การจดทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 ต.ค. 2566

| 20,533 view

การจดทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า

1. ข้อมูลทั่วไป

  1. การจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่าที่สถานกงสุลฯ จะกระทำได้
    เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทย หรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ และเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
  2. การขอจดทะเบียนฯ ต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ
    ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องส่งเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อเตรียมจัดพิมพ์
    เอกสารที่เกี่ยวข้อง
  3. การจดทะเบียนฯ จะนัดหมายเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานกงสุลใหญ่ฯ ในวันทำการ และใช้เวลาประมาณ 30 นาที ไม่เสียค่าธรรมเนียม

2. เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนสมรสมี ดังนี้

  1. กรอกรายละเอียดใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  2. หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  3. บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  4. หนังสือรับรองสถานภาพโสด (Bachelorhood Affidavit) ของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

            4.1 สำหรับคนไทย ขอรับหนังสือรับรองสถานภาพโสดได้ที่อำเภอหรือเขตที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน 

            4.2 สำหรับคนต่างชาติ ขอรับหนังสือรับรองสถานภาพโสดได้ที่หน่วยงานท้องที่ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน

  1. ในกรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนและหย่าแล้ว ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย
  2. ในวันจดทะเบียนสมรสต้องนำพยานไปด้วย 2 คน พยานต้องนำหนังสือเดินทาง
    และบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย

ทั้งนี้ เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการดำเนินการต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย

หมายเหตุ : การจดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา มีผลสมบูรณ์
ตามกฏหมายไทย แต่ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอินเดีย หากประสงค์จะให้การจดทะเบียนสมรสมีผลทางกฏหมายทางอินเดีย กรุณาติดต่อทางการอินเดียในแต่ละรัฐเพื่อขอทราบรายละเอียด

3. เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนหย่ามี ดังนี้

  1. กรอกรายละเอียดใบคำร้องขอจดทะเบียนหย่า และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  2. ทะเบียนสมรสต้นฉบับของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย (หากเป็นภาษาต่างชาติ ขอให้นำเอกสารดังกล่าวไปแปลและรับรองจากทางการของประเทศนั้น)
  3. หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  4. บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  5. ในวันจดทะเบียนหย่าต้องนำพยานไปด้วย 2 คน ( คนไทยหรือต่างชาติก็ได้ ) โดยพยานต้องนำหนังสือเดินทางและบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย

 

***การให้บริการด้านกงสุลเป็นไปตามการนัดหมายล่วงหน้าเท่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการรับบริการที่สะดวกรวดเร็ว โดยสามารถโทรติดต่อได้ที่เบอร์ (91-33) 2440-3229-30 หรือ E- mail: [email protected]

เอกสารประกอบ

services-20150709-130158-608762
services-20150709-130209-115911
services-20150709-130219-324577
services-20150709-130230-012428