พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับการเสด็จประพาสอินเดียและเมืองกัลกัตตา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับการเสด็จประพาสอินเดียและเมืองกัลกัตตา

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ต.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ม.ค. 2567

| 7,027 view

เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๓

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และนำเสนอข้อมูลส่วนหนึ่งของพระราชประวัติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ไทย-อินเดีย และเมืองกัลกัตตา ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพัฒนาสยามประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ผ่านการปฏิรูประบบการปกครอง และการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนการเลิกทาส โดยพระองค์ทรงได้รับแนวคิดสมัยใหม่ผ่านการเสด็จประพาสเพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศบนโลก รวมทั้งประเทศอินเดียด้วยเช่นกัน

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ โดยกระบวนเรือเสด็จได้เดินทางออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา แวะที่สิงคโปร์ ปีนัง มะละแหม่ง และย่างกุ้ง ก่อนจะถึงท่าเรือกัลกัตตาในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๑๕ (ค.ศ. ๑๘๗๒) โดยเมืองที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนในอินเดีย ได้แก่ กัลกัตตา บาร์รักปอร์ เดลี อัครา คอนปอร์ (หรือกานปุระในปัจจุบัน) ลัคเนา บอมเบย์ (หรือมุมไบในปัจจุบัน) และพาราณสี ตามลำดับ

 

ในเมืองกัลกัตตา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบกับลอร์ดเมโย อุปราชแห่งอังกฤษ และได้ทอดพระเนตรความเจริญของเมืองหลวงบริติชราช ณ ขณะนั้น (ก่อนที่จะอังกฤษจะย้ายเมืองหลวงไปเดลีในปี ๒๔๕๔ หรือปี ค.ศ. ๑๙๑๑) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนและทอดพระเนตรสถานที่สำคัญของเมืองกัลกัตตาหลายแห่ง อาทิ ทำเนียบรัฐบาล (Government House) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย (Indian Museum) สถาบันวิจัยบูรพคดีศึกษา Asiatic Society บริษัท the Silver and Copper Mint มหาวิหารเซนต์พอล ป้อมวิลเลียม ค่ายทหารและกองบัญชาการอื่น ๆ ในเขตบารร์รักปอร์ เรือนจำอะลิปอร์ ตลอดจนทอดพระเนตรโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์, โรงงานปั่นฝ้าย โรงงานทอปอกระเจา ระบบน้ำประปา โรงพยาบาลและชมรมวรรณกรรมในสมัยนั้น ก่อนที่จะเสด็จไปยังสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่นของอินเดีย ซึ่งรวมถึงสถานที่ในพุทธประวัติด้วย พระองค์ประทับในเมืองกัลกัตตาระหว่างวันที่ ๑๓-๒๒ มกราคม ๒๔๑๕ และสุดท้ายระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๕ ก่อนที่จะเสด็จนิวัติกรุงเทพฯ ตามเส้นทางเดิม

 

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า การเสด็จประพาสอินเดีย โดยเฉพาะเมืองกัลกัตตา
ที่เป็นอดีตเมืองหลวงของอินเดีย ได้นำมาซึ่งแนวพระราชดำริในการปฏิรูปสยามประเทศให้ทัดเทียมทันสมัยกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก และเมืองกัลกัตตายังเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ในฐานะที่กัลกัตตาเป็นเมืองแรกที่พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน

 

จึงขอบันทึกไว้ให้เป็นที่จดจำและรำลึกในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา

 

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๓

วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพัฒนาสยามประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ผ่านการปฏิรูประบบการปกครอง และการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนการเลิกทาส โดยพระองค์ทรงได้รับแนวคิดสมัยใหม่ผ่านการเสด็จประพาสเพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศบนโลก รวมทั้งประเทศอินเดียด้วยเช่นกัน

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ โดยกระบวนเรือเสด็จได้เดินทางออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา แวะที่สิงคโปร์ ปีนัง มะละแหม่ง และย่างกุ้ง ก่อนจะถึงท่าเรือกัลกัตตาในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๑๕ (ค.ศ. ๑๘๗๒) โดยเมืองที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนในอินเดีย ได้แก่ กัลกัตตา บาร์รักปอร์ เดลี อัครา คอนปอร์ (หรือกานปุระในปัจจุบัน) ลัคเนา บอมเบย์ (หรือมุมไบในปัจจุบัน) และพาราณสี ตามลำดับ

 

ในเมืองกัลกัตตา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบกับลอร์ดเมโย อุปราชแห่งอังกฤษ และได้ทอดพระเนตรความเจริญของเมืองหลวงบริติชราช ณ ขณะนั้น (ก่อนที่จะอังกฤษจะย้ายเมืองหลวงไปเดลีในปี ๒๔๕๔ หรือปี ค.ศ. ๑๙๑๑) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนและทอดพระเนตรสถานที่สำคัญของเมืองกัลกัตตาหลายแห่ง อาทิ ทำเนียบรัฐบาล (Government House) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย (Indian Museum) สถาบันวิจัยบูรพคดีศึกษา Asiatic Society บริษัท the Silver and Copper Mint มหาวิหารเซนต์พอล ป้อมวิลเลียม ค่ายทหารและกองบัญชาการอื่น ๆ ในเขตบารร์รักปอร์ เรือนจำอะลิปอร์ ตลอดจนทอดพระเนตรโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์, โรงงานปั่นฝ้าย โรงงานทอปอกระเจา ระบบการประปา โรงพยาบาลและชมรมวรรณกรรมในสมัยนั้น ก่อนที่จะเสด็จไปยังสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่นของอินเดีย ซึ่งรวมถึงสถานที่ในพุทธประวัติด้วย พระองค์ประทับในเมืองกัลกัตตาในโรงแรม Great Eastern ซึ่งเป็นโรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดของเอเชียตั้งแต่ปี ๒๓๘๓ หรือ ค.ศ. ๑๘๔๐ (ปัจจุบันคือโรงแรม The LaLiT Great Eastern) ระหว่างวันที่ ๑๓-๒๒ มกราคม ๒๔๑๕ และสุดท้ายประทับที่เลขที่ ๗ ถนน Wood (ปัจจุบันคือ Saturday Club)ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๕ ก่อนที่จะเสด็จนิวัติกรุงเทพฯ ตามเส้นทางเดิม

 

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า การเสด็จประพาสอินเดีย โดยเฉพาะเมืองกัลกัตตา ที่เป็นอดีตเมืองหลวงของอินเดีย ได้นำมาซึ่งแนวพระราชดำริในการปฏิรูปสยามประเทศให้ทัดเทียมทันสมัยกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก และเมืองกัลกัตตายังเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ในฐานะที่กัลกัตตาเป็นเมืองแรกที่พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนอีกด้วย

 

จึงขอบันทึกไว้ให้เป็นที่จดจำและรำลึกในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา

 

แหล่งที่มาของภาพและข้อมูล :

 

http://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th/th/history/rama5_bio

 

http://newdelhi.thaiembassy.org/en/2018/07/kings-india-royal-thai-family-context-siam-bharat-relations/#:~:text=King%20Chulalongkorn%2C%20the%20illustrious%20great,the%20British%20Raj%20in%201872.

 

http://newdelhi.thaiembassy.org/th/2018/10/ramavanddelhi/

 

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1957764

 

https://www.thaiembassy.sg/friends-of-thailand/p/king-chulalongkorn-day

 

https://readthecloud.co/scoop-18/

 

India in 1872, as Seen by the Siamese. Sachchidanand Sahai. BR Publishing Corporation, 2002. 6, 2002.

 

และขอขอบคุณบทความข้อเขียนจากนายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ อดีตอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก รศ. สาวิตรี เจริญพงศ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ได้มีโอกาสเรียนเชิญมาบรรยายให้ความรู้แก่สาธารณชนในเมืองกัลกัตตา สาธารณรัฐอินเดีย ในปี ๒๕๖๑ ด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ